Web Counters
Dr Jays Catalog
Bookmark and Share Add to Favorites  

ค้นหาสินค้า

สมาชิกเข้าสู่ระบบ

User Name:
Password:
จำการล็อกอินของฉันไว้
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
ใสอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา


กริ่งบุพพาภิมงคล ปี 2519 (ในหลวงเททองและพราชทานพระนาม)

กริ่งบุพพาภิมงคล ปี 2519 (ในหลวงเททองและพราชทานพระนาม)
รหัสสินค้า : k9-0008
ชื่อสินค้า : กริ่งบุพพาภิมงคล ปี 2519 (ในหลวงเททองและพราชทานพระนาม)
รายละเอียด

ปี2519กริ่งบุพพาภิมงคล ทองคำ26.6กรัม(ในหลวงเททองและพระราชทานพระนาม) สร้าง49องค์ 

 

..ในหลวงเสด็จฯ เททอง..

..ในหลวงพระราชทานพระนามของพระพุทธรูป..


พระกริ่งพุทธบุพพาภิมงคล ภปร. ปี2519 ทองคำ สร้าง 49 องค์ หนัก 26.65 กรัม

จัดสร้างโดยพระครูมงคลศีลวงศ์ (ตำแหน่งในขณะนั้น ปัจจุบันท่านคือ เจ้าอาวาส วัดบุพพาราม จ.เชียงใหม่ และ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่) ในปี 2519 ทางวัดมีความต้องการจัดหาทุนในการจัดสร้างหอมณเฑียรธรรม ของวัดบุพพารามโดยในวันทำพิธีมหาพุทธาภิเศก ทางวัดได้กราบบังคมทูลเชิญองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อ พระประธานประจำหอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม โดยได้รับการประทานชื่อพระพุทธบุพพาภิมงคล โดย พระองค์ท่านได้พระราชทานพระนามของพระพุทธรูปว่า " พระพุทธบุพพาภิมงคล " โดยได้นิมนต์พระเกจิฯชื่อดังของล้านนามาร่วมพิธีมหาพุทธาภิเศก อาทิ

1.ครูบาคำแสน อินทจักรโก วัดสวนดอก (ประวัติ จากเวบ http://www.relicsofbuddha.com/marahun/page8-2-30.htm )

2.ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล (ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ประวัติจากเวบ http://www.watsangkaew.com/main/simple/?t460.html )

3.ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดชัยมงคล(วังมุ่ย) (ศิษย์ผู้ได้รับมอบไม้เท้า และพัดหางนกยูง จากครูบาเจ้าศรีวิชัย ประวัติ จากเวบ http://writer.dek-d.com/natbaiton/writer/viewlongc.php?id=747851&chapter=47 )

4.ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า (ท่านครูบาพรหมา พรหมฺจกฺโก เหยียบให้หินภูเขาทั้งแท่งบุ๋มเป็นรอยเท้า กัน ให้เห็นจะๆคาๆตามาแล้ว(เคยลงตีพิมพ์ในนิตยสารโลกทิพย์)  นับได้ว่า ครูบาพรหมจักรท่านเป็นพระอัจฉริยเจ้าผู้ทรงคุณธรรมและคุณวิเศษเบื้องสูงสุด องค์หนึ่งในยุคร่วมสมัยนี้อย่างแท้จริง

 

ประวัติจากเวบ http://www.gmwebsite.com/webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-080110130022947 )

5.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง (ประวัติจากเวบ http://www.andaman-amulet.com/2009/01/blog-post_5887.html )

6.ครูบากองแก้ว วัดต้นยางหลวง (ประวัติ จากเวบ http://lannaholymonks.blogspot.com/2010/10/blog-post_7556.html )

7.ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม (ประทับรอยเท้าเป็นอนุสรณ์  ขณะ ที่ท่านช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ท่านได้ประทับรอยเท้าลึกลงไปในหินประมาณ ๑ ซ.ม. ข้างน้ำตกห้วยแก้ว ช่วงตอนกลางๆของทางขึ้นดอยสุเทพ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ท่านได้มาช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทาง )

เครดิตจากเวบ http://g1.buildboard.com/viewtopic.php/109/9226/6737/0/

ฯลฯ

จึงนับเป็นพระกริ่งที่น่าบูชาเป็นอย่างยิ่งครับ


วัดบุพพาราม หรือ วัดเม็ง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดอุปปา

 

ตั้ง อยู่เลขที่ ๑๔๓ ถนนท่าแพ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๔ไร่ ๓ งาน ๒๙ ตารางวา

วัดบุพพารามสร้างขึ้นในสมัยพระญาเมือง แก้ว กษัตริย์ล้านนาลำดับที่ ๑๒ ราชวงศ์มังราย ( ครองราชย์ระหว่างปี พ . ศ . ๒๐๓๙ – ๒๐๖๘ ) ในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวถึงการสร้างบุพพารามว่า พระเจ้าติลกปนัดดาธิราช ( ราชนัดดาของพระเจ้าติโลกราช คือพระญาเมืองแก้ว ) หลังจากที่ได้ราชาภิเษกแล้วในปีที่ ๒ ทรงโปรดให้สร้างอารามขึ้นอารามหนึ่งในหมู่บ้านที่พระราชอัยกา ครั้งเป็นยุพราชและพระบิดาของพระองค์เคยประทับมาก่อนเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง จุลศักราช ๘๕๘ โดยพระองค์ตั้งชื่ออารามนั้นว่า บุพพาราม แปลว่าอารามตะวันออก ทั้งนี้ โดยถือเอานิมิตว่าได้ตั้งอยู่ทางทิศบูรพาแห่งนพีสีราชธานี ซึ่งเป็นตำแหน่ง “ มูลเมือง ” ตามคัมภีร์มหาทักษา

ต่อมาในปีที่ ๓ ของการครองราชย์ ( ปีมะเมีย ) พระญาเมืองแก้วทรงโปรดให้สร้างปราสาทขึ้นองค์หนึ่ง ท่ามกลางมหาวิหารในอารามแห่งนั้น เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเงินพอย่างเข้าปีที่ ๔ แห่งการครองราชย์ พระญาเมืองแก้วทรงฉลองพระไตรปิฎกฉบับลงทองขมุศิลปะแบบล้านนา พร้อมกับหอมณเฑียรธรรมซึ่งโปรดให้สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังและประดับตกแต่ง อย่างประณีตสวยงามเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกนอกจากนี้ยังมีการฉลอง กุมารารามซึ่งพระนางสิริยสวดีราชเทวีพระราชชนนีของพระองค์ ได้สร้างไว้ที่พระราชมณเฑียรอันเป็นสถานที่ประสูติของพระญาเมืองแก้วในครั้ง เดียวกันนั้นเอง

ในปีจุลศักราช ๘๖๖ ( พ . ศ . ๒๐๔๗ ) ปีฉลู เดือน ๘ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ พระญาเมืองแก้วทรงรับสั่งให้ทำการหล่อมหาพุทธรูปไว้ ณ วัดบุพพาราม ๑ องค์ ต่อมา ในปีขาลเดือน ๕ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ มีการหล่อพระมหาพุทธรูปด้วยทองแดงล้วน น้ำหนัก ๑ โกฏิ ซึ่งมีสนธิ ๘ แห่ง หรือข้อต่อ ๘ แห่ง ใช้เวลาสร้างทั้งสิ้น ๕ ปี คือ สำเร็จในปี จ . ศ . ๘๗๑ เดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ วันพุธ โดยมีการฉลองอย่างใหญ่โตและได้รับการประดิษฐาน ณ พระอุโบสถ ปัจจุบันนี้ คือ พระประธานในวิหารของวัดบุพพาราม จากนั้น วัดบุพพารามได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ . ศ . ๒๐๗๐

สำหรับอาณาเขตของวัดตามตำนานไม่ได้กล่าว ไว้ว่ามีเนื้อที่เท่าใด จากการค้นคว้าข้อมูลของพระพุทธิญาณเจ้าอาวาสวัดบุพพารามในปัจจุบัน ( พ . ศ . ๒๕๓๙ ) ประกอบกับคำให้สัมภาษณ์ของผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ใจความว่าวัดอุปารามหรือบุพพารามมีเนื้อที่กว้างขวางมาก ทิศตะวันออกจดคลองแม่ข่าทิศตะวัดตกจดวัดมหาวัด อย่างไรก็ดี ปัจจุบันวัดบุพพารามหรือบุพพรามมีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๓ งาน ๒๙ ตารางวา ทิศเหนือติดกับถนนท่าแพ มีเนื้อที่ ๒ เส้น ๑๓ วา ทิศใต้ติดบ้านของเอกชน มีเนื้อที่ ๒ เส้น ๔ วา ทิศตะวันตกติดกับถนนท่าแพ ซอย ๒ ร่มโพธิ์ มีเนื้อที่ ๒ เส้น ๑๙ วา

ความสำคัญของวัดบุพพาราม คือ เคยเป็นที่สถิตของพระมหาสังฆราชปุสสเทวะ และนอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมมา สัมพุทธเจ้า อีกทั้งมีประเพณีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุในวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ ( เดือน ๔ ภาคกลาง ) ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ประจำทุกปี

ปูชนียสถานที่สำคัญของวัดบุพพาราม ได้แก่

๑ . พระวิหารหลังเล็ก ซึ่ง เป็นวิหารเครื่องไม้ศิลปะแบบล้านนา เจ้าหลวงช้างเผือกธรรมลังกาโปรดให้สร้างเมื่อ พ . ศ . ๒๓๖๒ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไชยลาภประสิทธิโชค ( พระประธาน ) ซึ่งก่อด้วยอิฐถือปูน หน้าตักกว้าง ๗ ศอก สูง ๙ ศอก เดิมวิหารหลังนี้มีอยู่ ๓ มุขด้วยกัน คือ มุขหน้าหันไปทางทิศเหนือ มุขหลังหันไปทางทิศใต้ และมุขข้างหันไปทางทิศตะวันออก สำหรับวิหารหลังปัจจุบัน เป็นศิลปกรรมแบบล้านนา ด้านในประดิษฐานพระประธาน ๒ องค์ องค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศเหนือ ก่อด้วยอิฐและปูน หน้าตักกว้าง ๗ ศอก สูง ๙ ศอก ได้รับการประดิษฐาน ณ วิหารหลังนี้มาโดยตลอดพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง หันหน้าไปทางทิศใต้ ( หันหลังให้กับองค์แรก ) ภายหลังเมื่อวิหารหลังเล็กได้รับการดัดแปลงแก้ไขในสมัยครูบาหลานหรือ ครูบาอินต๊ะพระพุทธรูปองค์นี้จึงได้รับการเคลื่อนย้ายไปประดิษฐานบนวิหาร หลังใหญ่ ต่อมาเจ้าแม่ทิพผสม ณ เชียงใหม่ ได้ทำการบูรณะวิหารหลังเล็ก เมื่อประมาณปี พ . ศ . ๒๔๔๕ ปีขาล ปัจจุบันวิหารหลังเล็กนี้กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วล่าสุด พระพุทธิญาณ เจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดองค์ปัจจุบันได้ทำการบูรณะซ่อมแซมในรูปเดิมและ เสริมในบางส่วน คือ ปั้นมอม ( สัตว์หิมพานต์ ) ๒ ตัว ไว้ที่บันได รวมทั้งบานประตูใหญ่ของวิหารซึ่งปั้นปูนเป็นเทพพนม

๒ . พระวิหารหลังใหญ่ เป็น วิหารศิลปกรรมล้านนาซึ่งได้รับการประดับตกแต่งลวดลายปูนปั้นแบบพม่า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหาปฏิมากร ศิลปกรรมล้านนาซึ่งหล่อด้วยทองแดงล้วนมีน้ำหนัก ๑ โกฏิ และสนธิ ( ต่อ ) ๘ แห่ง และมีพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนขนาบซ้ายขวาอีก ๒ รูป โดยหล่อด้วยทองสำริดทั้งคู่ภายในวิหารมีภาพเขียนพุทธประวัติและพระมหา เวสสันดรชาดก ซี่งเขียนด้วยสีฝุ่น ประวัติของวิหารหลังใหญ่เท่าที่ทราบ คือ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์หรือเจ้าชีวิตอ้าว เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นผู้บูรณะโดยเปลี่ยนเสาเดิม คือ ท่านได้รื้อหอเย็นในคุ้มหลวง แล้วนำเสาเหล่านั้นมาทำเป็นเสาพระวิหาร ต่อมาในสมัยของครูบาหลาน ( อินต๊ะ ) พร้อมด้วยญาติโยมได้ทำการบูรณะพระวิหารขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จากนั้น พระครูอุดมกิตติมงคลเจ้าอาวาสได้พยายามปรับปรุงเรื่อยมาไม่ว่าจะเป็นการ เปลี่ยนบานประตูใหญ่ - เล็กและแกะสลักให้สวยงามแบบศิลปะล้านนา

๓ . พระอุโบสถ ตามที่สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ได้ความว่าเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา คฤหปตานี “ คุณแม่วันดี สุริยา ” เป็นผู้ปฏิสังขรณ์ โดยทำซุ้มโขงให้เป็นศิลปะล้านนาผสมมอญ อนึ่ง พระอุโบสถหลังนี้มีขนาดเล็กและไม่มีใบเสมาเป็นเครื่องหมายเหมือนอุโบสถที่ สร้างขึ้นในปัจจุบันแต่จะใช้ก้อนหินหรือเสาหินทรายแดงเป็นนิมิตในการผูก ลูกนิมิตเพื่อแสดงเขตของพัทธสีมาซึ่งมีความกว้าง ๕ เมตร และยาว ๒๐ เมตร ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสิงห์หนึ่งศิลปะเชียงแสนซึ่งเป็น พระประธานและพระพุทธรูปปูนปั้นก่อด้วยอิฐอีก 2 องค์ ซึ่งเป็นของโบราณ

๔. พระเจดีย์ ศิลปะ ล้านนา เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามตำนานขององค์พระเจดีย์กล่าวว่า พระญาเมืองแก้วสร้างพระเจดีย์ขึ้นใน ปี จ.ศ.๘๗๒ ปีมะแม โดยมีความกว้างประมาณ ๑๒ ศอก สูงประมาณ ๓๐ ศอก ปิดด้วยทองทั้งองค์ ในครั้งนั้น คณะสงฆ์ และเหล่าศรัทธาต่างเปลื้องอาภรณ์เครื่องประดับเป็นเครื่องบูชาเพื่อเป็นบุญ กุศลและเป็นการถวายทานแด่พระพุทธศาสนา การก่อสร้างใช้เวลารวม ๓ เดือนจึงสำเร็จ โดยขณะที่การก่อสร้างดำเนินอยู่นั้นมีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นหลายประการ

อนึ่ง การบูรณะองค์พระเจดีย์โดยหลวงโยนวิจิตร(หม่อนตะก่า อุปโยคิน) คือ ท่านได้สละทรัพย์สินส่วนตัวเสริมสร้างองค์เจดีย์ทั้งองค์ในปี จ.ศ.๑๒๖๐ (พ.ศ.๒๔๔๑) โดยเปลี่ยนรูปทรงเจดีย์ใหม่ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ขยายฐานให้กว้าง ๓๘ ศอก ความสูง ๔๕ ศอก มีฉัตรขนาดเล็กจำนวน ๔ ฉัตร รวมทั้งมีต้นดอกไม้เงิน-ดอกไม้ทอง อย่างละ ๔ ต้น และมีฉัตรขนาดใหญ่ตรงยอดสูดขององค์เจดีย์ ๑ ฉัตร พิธียกฉัตรมีขึ้นในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ปลายปี พ.ศ.๒๔๔๑

ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ พระพุทธิญาณ (เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน) ได้ย้ายมาจากวัดเชตวันและได้ทำการบูรณะองค์พระเจดีย์อีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มลงมือบูรณะในวันพฤหัสบดีแรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู จ.ศ.๑๓๒๓ ตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๔ สำเร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๕ ตรงกับเดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ วันพฤหัสบดี รวมเวลาที่ทำการบูรณะ ๔ เดือนกับอีก ๖วัน

๕. บ่อน้ำทิพย์ เดิม เป็นบ่อน้ำในพระราชอุทยานของพระเจ้าติโลกราช มีมาก่อนการสร้างวัดบุพพาราม (จ.ศ.๘๕๔) เมื่อพระเจ้าติลกปนัดดาธิราช (พระเมืองแก้ว) ได้ทรงสร้างพระอารามขึ้นในพระราชอุทยาน ได้ใช้น้ำในบ่อนี้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สรงพระบรมสารีริกธาตุ ปัจจุบันทางราชการใช้น้ำในบ่อนี้ เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์บ่อหนี่ง ในจำนวนบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วราชอาณาจักร เพื่อใช้ในพิธีสำคัญ ๆ เช่น ในพระราชพิธีพุทธาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในวาระครบ ๕ รอบ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ หรือเมื่อครั่งเจ้าอินทวโรรส เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ราชวงศ์มังรายได้อาราธนาพระบรมธาตุเจ้าศรีจอมทองมายังวัดบุพพารามเพื่อให้ ประชาชนได้สรงน้ำทำการสักการะในวันเพ็ญเดือน ๔ ใต้ เดือน ๖ เหนือ และในปัจจุบัน ประเพณีการสรงน้ำพระบรมธาตุวัดบุพพารามยังดำเนินอยู่เป็นประจำทุกปี

๖. หอมณเฑียรธรรม เป็น มณฑปปราสาทจัตุรมุขทรงล้านนา ๒ ชั้น สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ สำเร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดชมหาราช ทรงพระราชทานนามว่า “ พระพุทธบุพพาภิมงคล ภปร. ” และพระพุทธนเรศร์สักชัยไพรีพินาศ แกะด้วยไม้สักทั้งองค์ สำหรับชั้นล่างจัดเป็นห้องสมุดศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นล้านนาเพื่อรวบรวมวัตถุ โบราณของพื้นเมืองต่าง ๆ

๗. วิหารพระเจ้าทันใจ ไม่ ปรากฏวันเดือนปีที่สร้างอย่างแน่ชัด แต่จากการสอบถามผู้สูงอายุได้ความว่าพ่อน้อยสุข สุขเกษม พร้อมด้วยลูกหลานเป็นศรัทธาถวายพร้อมพระเจ้าทันใจ โดยใช้เวลาสร้างเพียงวันเดียวและทำการฉลองสมโภชพร้อมทั้งเจริญพระพุทธมนต์ อายุการก่อสร้างประมาณ ๑๔๐-๑๕๐ ปี นับว่าเป็นของเก่าแก่คู่กับวัดอีกอย่างหนึ่งภายในวิหารพระเจ้าทันใจ เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจและพระประจำวันเกิด

๘. วิหารครูบาศรีวิชัย ภายในประดิษฐานรูปปั้นของครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา

กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้วัดบุพพารามเป็นโบราณสถานตั้งแต่วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๒

เครดิตจากเวบ http://idealanna.igetweb.com/index.php?mo=3&art=69401 


 

ราคา : .00 บาท
จำนวน : Pcs.