|
![]() | |
รหัสสินค้า | : k9-0014 |
ชื่อสินค้า | : กริ่งวาสนา ครบ90พรรษาสังฆราชวาสน์ ปี2531 (ในหลวงเททอง) |
รายละเอียด | พระกริ่งวาสนา 90 พรรษา (ในหลวงเสด็จในพิธี) ปี2531 เลข 28 สร้าง 91 องค์ ทองคำหนัก 37.13 กรัม + ตลับทองคำ 16.53 กรัม (หักพลาสติกออก 2 กรัม) = หนักรวม 53.66 กรัม = รุ่นนี้ในหลวง ท่านเสด็จเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเททองหล่อ = สร้างเป็นที่ระลึกในคราวที่สมเด็จพระ อริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธฯ (สังฆราชองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) มีพระชนมายุครบ 90 พรรษา พิธีพุทธาภิเษก 24 กุมภาพันธ์ 2531 ส่วนใหญ่พระเถราจารย์ที่เข้าร่วมพิธีเป็นพระเถราจารย์สายกรรมฐาน (สายวัดป่า) ออกแบบและแกะแม่พิมพ์โดยช่างเกษม มงคลเจริญ ช่างผู้ชำนาญการในการออกแบบพระกริ่งแห่งยุค จำนวนการสร้าง เนื้อทองคำ 91 องค์ , นวะโลหะ 1,991 องค์ เมื่อพระองค์มีอายุ 90พรรษาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2531รัฐบาลเห็นสมควรจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นให้สมพระเกียรติ และเมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับงานนี้ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงเป็นงานบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ 90 พรรษา และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มายังพระอุโบสถวัดราชบพิธ ถวายน้ำสรงสมเด็จพระสังฆราช ถวายดอกไม้ธูปเทียนแพ ถวายพัดยศพิเศษ คือ พัดแฉกงาประดับพลอยที่เคยพระราชทานเฉพาะเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายธรรมยุตที่เป็นพระ ราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ พร้อมกันนั้นได้ถวายพัดรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร. ชั้น 1 ซึ่งเป็นพัดประจำรัชกาลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่พระสงฆ์ที่ทรงเคารพนับถือและคุ้นเคยเป็นส่วน พระองค์ อันมีจำนวนน้อยรูป และเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ได้รับถวายพัดรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร. นี้ เป็นรูปที่ 5 เท่านั้น ในงานบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมา ยุครั้งนี้ ปรากฏว่าพุทธศาสนิกชนทั้งบรรชิตและฆราวาสมีความปลื้มปีติยิ่ง ได้เดินทางมาถวายสักการะถวายพระพรกันอย่างล้นหลามยิ่งกว่าที่เคยปรากฏในกาล ก่อน ในพิธีนี้มีการจัดสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ ฉลองอายุ 90 พรรษา มีพิธีพุทธาภิเษกใหญ่โดยเชิญพระคณาจารย์มาร่วมปลุกเสกมากมายทั้งพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่นและพระเกจิเรืองวิทยาคม สมเด็จฯ ได้สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการสงบ เมื่อ วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2531 ณ โรงพยาบาลศิริราช เครดิตจากเวบ http://www.web-pra.com/Auction/Show/1512684 กริ่งวาสนา 90 พรรษา มี 2 บล๊อค ครับ ภาพเปรียบเทียบ กริ่งวาสนา90พรรษา สังฆราชวาสน์ ประวัติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สังฆราชองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมาหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2517 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงอยู่ในตำแหน่ง 14 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2531 พระชนมายุ 91 พรรษา พระองค์มีพระนามเดิมว่า วาสน์ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2440 ที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทรงบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. 2455 บรรพชาและอุปสมบท พระองค์ได้ทรงอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2461 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้รับฉายาว่า "วาสโน" เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรมตามลำดับ และสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค พ.ศ. 2465 และ 2466 เป็นพระครูโฆสิตสุทธสร พระครูธรรมธร และพระครูวิจิตรธรรมคุณ ตามลำดับ พระครูฐานานุกรมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัตน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และเป็นกรรมการตรวจธรรมและบาลีสนามหลวง พ.ศ. 2477 เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญที่ "พระจุลคณิศร" พระราชาคณะปลัดซ้ายของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัตน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พ.ศ. 2481 เป็นกรรมการคณะธรรมยุต พ.ศ. 2485 เป็นกรรมการมหามงกุฎราชวิทยาลัย เป็นคณาจารย์เอกทางรจนาพระคัมภีร์ และเป็นสมาชิกสภาสังฆสภา พ.ศ. 2486 เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะตรวจการภาคกลาง และภาค 2 เป็นเจ้าคณะอำเภอพระนคร และเป็นกรรมการการสังคายนาพระธรรมวินัย พ.ศ. 2489 เป็นพระราชาคณะ ชั้นราชที่ "พระราชกวี" และรักษาการณ์ในหน้าที่เจ้าอาวาสวัดราชบพิธ พ.ศ. 2490 เป็นพระราชาคณะ ชั้นเทพที่ "พระเทพโมลี" พ.ศ. 2491 เป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และเป็นเจ้าคณะตรวจการณ์ภาค 1 พ.ศ. 2492 เป็นพระราชาคณะ ชั้นธรรมที่ "พระธรรมปาโมกข์" พ.ศ. 2494 เป็นเจ้าคณะธรรมยุต ผู้ช่วยภาค 1-2-6 และเป็นเจ้าคณะจังหวัด พระนคร-สมุทรปราการ และนครสวรรค์ พ.ศ. 2500 เป็นพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ "พระอุบาลีคุณูปมาจารย์" พ.ศ. 2504 เป็นผู้รักษาการณ์ในตำแหน่งเจ้าคณะธรรมยุต ภาค 1-2-6 และเป็นอุปนายกกรรมการมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยฯ พ.ศ. 2506 เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" และเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม งานพระศาสนา พระองค์ได้บริหารงานพระศาสนา ในการคณะสงฆ์มาโดยตลอดเป็นอันมาก พอประมวลได้ดังนี้ นายกกรรมการและนายกสภาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
งานเผยแผ่ศาสนธรรม งานเผยแผ่ศาสนธรรม นับว่าเป็นงานหลักที่ทรงกระทำเป็นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบต่าง ๆ กล่าวคือ การสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก ในการสมัยสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี นับเป็นครั้งที่ 3 ของประเทศไทย การบรรยายธรรม ได้จัดให้มีพระธรรมเทศนาประจำวันธรรมสวนะในพระอุโบสถเป็นประจำ การบรรยายสวดมนต์มีคำนำแปล ณ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ประจำวันพระแรม 8 ค่ำ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ถึง พ.ศ. 2517 การตรวจเยี่ยมพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศทั้ง 73 จังหวัด เพื่อรับทราบปัญหาต่าง ๆ ที่จะได้นำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป การแต่งหนังสือและบทความต่าง ๆ เพื่อสอนพระพุทธศาสนาในระดับต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก งานสาธารณูปการ งานสาธารณูปการ การตั้งมูลนิธิต่างๆ เพื่อบำรุงพระอาราม ทรงสร้างและให้ความอุปถัมภ์ในการสร้าง วัด โรงเรียน โรงพยาบาล และสาธารณสถานต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น วัดแสงธรรมสุทธาราม จังหวัดนครสวรรค์ วัดโพธิทอง จังหวัดอยุธยา อาคารเรียนโรงเรียนประชาบาลวัดสระกะเทียม นครปฐม โรงเรียนประชาบาลวัดโพธิ์ทอง จังหวัดอยุธยา โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) จังหวัดอยุธยา ศาลาบำเพ็ญบุญ วัดเสนาสนาราม หอนาฬิกา จังหวัดอยุธยา ศาลาที่พักริมทางหลวง 8 แห่ง ศาลาทรงไทยหน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร 2 หลัง และสถานสงเคราะห์คนชราวาสนเวศน์ จังหวัดอยุธยา สิ่งก่อสร้างสุดท้ายคือ โรงเรียนวัดราชบพิธแห่งใหม่ ในที่ดินที่กองทัพบกยกให้ เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 90 พรรษา งานสร้างพุทธมณฑล ให้สำเร็จเสร็จทันในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ ในปี พ.ศ. 2530 เป็นผลงานสำคัญของพระองค์ที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 งานพระนิพนธ์ งานพระนิพนธ์ ทรงนิพนธ์หนังสือและบทความต่าง ๆ ทั้ง ร้อยแก้ว และร้อยกรองไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ทิศ 6 สังคหวัตถุ 4 สัมปรายิกัตถประโยชน์ วัดของบ้าน พุทธศาสนคุณ พัฒนาใจ บุคคลหาได้ยาก มรดกชีวิต ความเติบโต วาสนาสอนน้อง จดหมายถึงพ่อ วาทแห่งวาสน์ คำกลอนสอนใจ วาสนคติ นิราศ 2 ปี สวนดอกสร้อย สักวาปฏิทิน กลอนปฏิทิน อาจารย์ดี สมพรปาก คน-ระฆัง เรือ-สมาคม วัยที่เขาหมดสงสาร และบทความเรื่องบันทึกศุภาสินี เป็นต้น สารบัญ 2 การปกครองคณะสงฆ์ก็ยังจัดโดยมีตำแหน่งเปรียบเทียบดังนี้ 3.4 4. สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) 3.5 5. สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) 3.7 7. สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส 3.8 8. สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ 3.9 9. สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) 3.10 10. สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส 3.11 11. สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ 3.12 12. สมเด็จพระอริยวาศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) 3.13 13. สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ ชื่น สุจิตฺโต) 3.14 14. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ) 3.15 15. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ฯ (อยู่ ญาโณทโย) 3.16 16. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี มหาเถร) 3.17 17. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) 3.18 18. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) 3.19 19. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวัฑฒโน)
|