|
![]() | |||||||||||||||||||||
รหัสสินค้า | : k9-9018 | ||||||||||||||||||||
ชื่อสินค้า | : เหรียญทองคำ สมเด็จพระสังฆราช วาสน์ วาสโน องค์ที่ 18 | ||||||||||||||||||||
รายละเอียด | เหรียญทองคำ สังฆราชอริยะวงศาคตญาณ(วาสน์ วาสโน) ปี 2532 หนัก 6.65 กรัมเหรียญทองคำ สังฆราสวาสน์ วาสโน (งานพระเมรุ) ปี 2532 หนัก 6.65 กรัม เลข 1137 สังฆราชองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมาหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2517 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงอยู่ในตำแหน่ง 14 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2531 พระชนมายุ 91 พรรษา พระองค์มีพระนามเดิมว่า วาสน์ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2440 ที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทรงบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. 2455 บรรพชาและอุปสมบทพระองค์ได้ทรงอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2461 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้รับฉายาว่า "วาสโน" เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรมตามลำดับ และสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค พ.ศ. 2465 และ 2466 เป็นพระครูโฆสิตสุทธสร พระครูธรรมธร และพระครูวิจิตรธรรมคุณ ตามลำดับ พระครูฐานานุกรมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัตน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และเป็นกรรมการตรวจธรรมและบาลีสนามหลวง พ.ศ. 2477 เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญที่ "พระจุลคณิศร" พระราชาคณะปลัดซ้ายของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัตน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พ.ศ. 2481 เป็นกรรมการคณะธรรมยุต พ.ศ. 2485 เป็นกรรมการมหามงกุฎราชวิทยาลัย เป็นคณาจารย์เอกทางรจนาพระคัมภีร์ และเป็นสมาชิกสภาสังฆสภา พ.ศ. 2486 เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะตรวจการภาคกลาง และภาค 2 เป็นเจ้าคณะอำเภอพระนคร และเป็นกรรมการการสังคายนาพระธรรมวินัย พ.ศ. 2489 เป็นพระราชาคณะ ชั้นราชที่ "พระราชกวี" และรักษาการณ์ในหน้าที่เจ้าอาวาสวัดราชบพิธ พ.ศ. 2490 เป็นพระราชาคณะ ชั้นเทพที่ "พระเทพโมลี" พ.ศ. 2491 เป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และเป็นเจ้าคณะตรวจการณ์ภาค 1 พ.ศ. 2492 เป็นพระราชาคณะ ชั้นธรรมที่ "พระธรรมปาโมกข์" พ.ศ. 2494 เป็นเจ้าคณะธรรมยุต ผู้ช่วยภาค 1-2-6 และเป็นเจ้าคณะจังหวัด พระนคร-สมุทรปราการ และนครสวรรค์ พ.ศ. 2500 เป็นพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ "พระอุบาลีคุณูปมาจารย์" พ.ศ. 2504 เป็นผู้รักษาการณ์ในตำแหน่งเจ้าคณะธรรมยุต ภาค 1-2-6 และเป็นอุปนายกกรรมการมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ พ.ศ. 2506 เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" และเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม งานพระศาสนาพระองค์ได้บริหารงานพระศาสนา ในการคณะสงฆ์มาโดยตลอดเป็นอันมาก พอประมวลได้ดังนี้
งานเผยแผ่ศาสนธรรมงานเผยแผ่ศาสนธรรม นับว่าเป็นงานหลักที่ทรงกระทำเป็นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบต่าง ๆ กล่าวคือ การสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก ในการสมัยสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี นับเป็นครั้งที่ 3 ของประเทศไทย การบรรยายธรรม ได้จัดให้มีพระธรรมเทศนาประจำวันธรรมสวนะในพระอุโบสถเป็นประจำ การบรรยายสวดมนต์มีคำนำแปล ณ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ประจำวันพระแรม 8 ค่ำ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ถึง พ.ศ. 2517 การตรวจเยี่ยมพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศทั้ง 73 จังหวัด เพื่อรับทราบปัญหาต่าง ๆ ที่จะได้นำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป การแต่งหนังสือและบทความต่าง ๆ เพื่อสอนพระพุทธศาสนาในระดับต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก งานสาธารณูปการงานสาธารณูปการ การตั้งมูลนิธิต่างๆ เพื่อบำรุงพระอาราม ทรงสร้างและให้ความอุปถัมภ์ในการสร้าง วัด โรงเรียน โรงพยาบาล และสาธารณสถานต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น วัดแสงธรรมสุทธาราม จังหวัดนครสวรรค์ วัดโพธิทอง จังหวัดอยุธยา อาคารเรียนโรงเรียนประชาบาลวัดสระกะเทียม นครปฐม โรงเรียนประชาบาลวัดโพธิ์ทอง จังหวัดอยุธยา โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) จังหวัดอยุธยา ศาลาบำเพ็ญบุญ วัดเสนาสนาราม หอนาฬิกา จังหวัดอยุธยา ศาลาที่พักริมทางหลวง 8 แห่ง ศาลาทรงไทยหน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร 2 หลัง และสถานสงเคราะห์คนชราวาสนเวศน์ จังหวัดอยุธยา สิ่งก่อสร้างสุดท้ายคือ โรงเรียนวัดราชบพิธแห่งใหม่ ในที่ดินที่กองทัพบกยกให้ เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 90 พรรษา งานสร้างพุทธมณฑล ให้สำเร็จเสร็จทันในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ ในปี พ.ศ. 2530 เป็นผลงานสำคัญของพระองค์ที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 งานพระนิพนธ์งานพระนิพนธ์ ทรงนิพนธ์หนังสือและบทความต่าง ๆ ทั้ง ร้อยแก้ว และร้อยกรองไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ทิศ 6 สังคหวัตถุ 4 สัมปรายิกัตถประโยชน์ วัดของบ้าน พุทธศาสนคุณ พัฒนาใจ บุคคลหาได้ยาก มรดกชีวิต ความเติบโต วาสนาสอนน้อง จดหมายถึงพ่อ วาทแห่งวาสน์ คำกลอนสอนใจ วาสนคติ นิราศ 2 ปี สวนดอกสร้อย สักวาปฏิทิน กลอนปฏิทิน อาจารย์ดี สมพรปาก คน-ระฆัง เรือ-สมาคม วัยที่เขาหมดสงสาร และบทความเรื่องบันทึกศุภาสินี เป็นต้น อ้างอิงหมาย กำหนดการ ที่ ๓/๒๕๓๒ พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมาหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) ณ พระเมรุวัดเทพศรินทราวาส มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๒
รายพระนามสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
|