Web Counters
Dr Jays Catalog
Bookmark and Share Add to Favorites  

ค้นหาสินค้า

สมาชิกเข้าสู่ระบบ

User Name:
Password:
จำการล็อกอินของฉันไว้
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
ใสอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา


พระพุทธชินราช ภปร. แม่ทัพภาค3 ปี2517 (ในหลวงเสด็จฯ เททอง) หน

พระพุทธชินราช ภปร. แม่ทัพภาค3 ปี2517 (ในหลวงเสด็จฯ เททอง) หน
รหัสสินค้า : k9-0042
ชื่อสินค้า : พระพุทธชินราช ภปร. แม่ทัพภาค3 ปี2517 (ในหลวงเสด็จฯ เททอง) หน
รายละเอียด

....ในหลวงเสด็จเททอง.....

....สังฆราชองค์ที่17 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) อธิฐานจิต....

 

พระพุทธชินราช ภปร. แม่ทัพภาค3 ปี2517 (ในหลวงเสด็จฯ เททอง) หน้าตัก 5.9 นิ้ว

จัดเป็นพระพิธีดีที่มีประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาดสูงมากๆ

ประวัติพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

สมเด็จพระมหกษัตริยาธิ ราชเจ้า เกือบจะทุกพระองค์เสด็จทรงนมัสการและถวายเครื่องสักการบูชาสมโภชเป็นราช ประเพณี มานับแต่โบราณกาลดังปรากฏในพระราชดำรัส สรรเสริญ พระพุทธชินราช ของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๔ ความตอนหนึ่งว่า

"...ก็แล พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา ๓ พระองค์นี้ เป็นพระพุทธปฏิมากรดีล้ำเลิศ ประกอบไปด้วย พระพุทธลักษณะอันประเสริฐ มีสิริเทพยดาอภิบาลรักษา ย่อมเป็นที่สักการบูชานับถือมาแต่โบราณกาล แม้แต่พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาเก่า ที่ได้มีพระเดชานุภาพมโหฬาร ปรากฏในแผ่นดินที่ทรงนับถือ ทำสักการบูชามาหลายพระองค์..."


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯ ทรงนมัสการพระพุทธชินราชเมืองพิษณุโลก ครั้งแรก เมื่อวันที่๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๑ ทรงสรงพระสุหร่าย ทรงเปลื้องเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นโบราณราชประเพณีนพรัตน์ราชวราภรณ์ เฉกเช่น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงเปลื้องเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ ถวายพระพุทธชินราชเป็นพุทธบูชาเมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๔๖๙

ในครั้งนั้นได้ทรงถวายพัดรัตนาภรณ์ (พระปรมาภิไธย ภปร) และ ต้นไม้ทอง-เงิน ทรงจุดดอกไม้ไฟ ถวาย สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรง เปลื้องผ้าทรงสภักถวาย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะพราหมณ์หลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ ออกแว่นเวียนเทียนสมโภช ถวายพระพุทธชินราชเป็นพุทธบูชา ตามราชประเพณีและเสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงนมัสการพระพุทธชินราชทุกครั้งที่ นับแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๑ ถึง ๒๕๒๕ จำนวน ๑๓ ครั้ง และ เสด็จฯ ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ทรงนมัสการพระพุทธชินราช ทรงเวียนเทียนประทักษิณา พระวิหารพระพุทธชินราชถ้วน ๓ รอบ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๖ เวลา ๑๔.๑๕ น.

ประวัติการสร้าง พระกริ่งชินราช ภปร. แม่ทัพภาค3 ปี2517

อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ พล.ท.สำราญแพทยกุล แม่ทัพภาคที่๓ จัดสร้างวัตถุมงคล พระพุทธชินราชภปร ขึ้นเป็นครั้งแรกและ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อม สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเททองหล่อพระพุทธชินราชภปร ณ มณฑลพิธีวัดสุทัศนเทพวรารามฯ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๑๖ เวลา ๑๖.๔๙ น. โดยมี สมเด็จพระสังฆราช(ปุ่น) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นประธานสงฆ์ และประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เมืองพิษณุโลก เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗ พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณแห่งยุคนั้นจำนวน ๔๕ รูป นั่งปรก

วัตถุมงคล พระพุทธชินราชภปร รุ่นแรก ประกอบด้วย

๑.พระพุทธชินราชภปร. ขนาดบูชา๕ นิ้ว และ ๙ นิ้ว ลงรักปิดทอง ฐานหลัง ตรากองทัพภาคที่ ๓ จ.ส.อ.ดร.ทวี บูรณะเขต์ เป็นประติมากรช่างหล่อ

๒.พระกริ่งพระพุทธชินราช ภปร เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะ (เบอร์แกะสลัก)

๓.เหรียญพระพุทธชินราช หลังอักษรพระปรมาภิไธย ภปร (เหรียญอาร์ม) เนื้อทองคำ เนื้อเงินเนื้ออัลปาก้า เนื้อทองแดง

๔.เหรียญในหลวงทรงพระผนวช หลังอักษรพระปรมาภิไธยภปร (เหรียญอาร์ม) เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า เนื้อทองแดง (เหรียญเนื้อทองคำเป็นเหรียญอาร์มพิมพ์เล็ก เหรียญเนื้อเงิน เป็นพิมพ์กลาง ส่วนเหรียญทองแดง และอัลปาก้า เป็นเหรียญพิมพ์ใหญ่)

๕.เหรียญพระพุทธชินราช ด้านหลังพระบรมรูป ในหลวงทรงพระผนวชเนื้อนวโลหะ(เบอร์แกะพิมพ์เล็ก) เป็น (เหรียญแจกกรรมการจัดสร้าง) และด้วยพระบารมีปกเกล้าของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช(ภูมิพลอดุลยเดช หมายถึง ผู้ทรงกำลังอำนาจ ไม่มีอะไรเทียบในแผ่นดิน พระผู้ทรงเป็นกำลังของแผ่นดิน พระผู้ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรมทรงเป็นธรรมราชาผู้ยิ่งใหญ่) จึงถือว่า เป็นมหามงคลแก่ผู้มีไว้สักการบูชาเป็นยิ่งนัก

พิธีพุทธาภิเษก

ในพิธีนั้นนิมนต์พระเกจิดังๆมามากมาย เช่น หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อเนื่อง หลวงพ่อนอ หลวงพ่อเทียม หลวงพ่อพริ้ง หลวงพ่อกี๋ เป็นต้น  มวลสารชนวนที่มาหล่อพระมีจำนวนมากมาย ที่เป็นของพระเกจิดังๆ แถมที่ฐานพระกริ่งชินราช ยังมีอักษร ภปร. ที่ถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้บูชา

วัตถุมงคลพระพุทธชิน ราช  รุ่นนี้กองทัพภาคที่ 3  จัดสร้างปีพ.ศ. 2517  เป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งของวัดศรีรัตนมหาธาตุฯ จังหวัดพิษณุโลก โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จประกอบพิธีเททอง และมีพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งถึง 2 ครั้ง โดย

ครั้งแรกที่    วัดสุทัศน์ 

ครั้งที่สอง   ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารหลวงพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

ใน พิธีครั้งนั้นมีสร้างพระอีกหลายแบบเช่นเหรียญในหลวงทรงผนวช  เหรียญพระพุทธชินราช  เหรียญพระนเรศวรหลังพระเอกาทศรถ และ พระบูชา เป็นต้นโดยมี แม่ทัพภาคที่3 สมัยนั้น พลโท สำราญ แพทยกุล เป็นประธานจัดสร้าง ได้ทำพิธีปลุกเสกในวิหารของหลวงพ่อชินราชเลย  มีโดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชและพระเกจิดังๆในสมัยนั้นมาร่วมพิธีมากมาย เช่น

1.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี 

2.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช 

3.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ 

4.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง

5.หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือป็นต้น  

ส่วนมวลสารชนวนที่มาหล่อองค์พระมีชนวนมวลสารต่างๆของพระกริ่งเก่าๆ ตะกรุดเก่าเป็น จำนวนมาก 

จัดเป็นพระพิธีดีที่มีประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาดสูงมากๆ


               ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงประกอบพิธีเททอง ณ บริเวณมณฑลพิธีด้านข้างพระอุโบสถ

อากาศก็ร่มเย็นแจ่มใสให้ผู้ไปร่วมพิธี และพสกนิกรที่ไปเข้าเฝ้าครั้งนั้น เย็นสบายไปโดยทั่วกัน แต่ขณะเดียวกันกลับปรากฎเหตุ "ท้องฟ้าทางภาคเหนือ" (ตรงจุดที่ตั้งกองทัพภาคที่ 3) เกิดมี "ฟ้าแลบฟ้าร้อง" ดังสนั่นหวั่นไหวอยู่ตลอดเวลา กระทั่งพิธีเททองเสร็จสิ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯกลับแล้ว "ฟ้าแลบฟ้าร้อง" จึงสงบลงและพอถึงเวลา 17.55 น. "พระวิสุทธิวงศาจารย์" (เสงี่ยม จันทสิริมหาเถระ) เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ฯ ในขณะนั้น(ภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จ พระราชาคณะที่ โฆษาจารย์) ดับเทียนชัยพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ยังได้มอบเงิน "5,000 บาท" เพื่อสมทบทุนมูลนิธิ "เย็นศิริเพราะพระบริบาล" อีกด้วย พร้อมๆกับ "สายฝน" ได้ตกลงมาอย่างหนักจนน้ำนองรอบๆระเบียงพระอุโบสถ ทั้งๆที่บริเวณอื่นที่อยู่ใกล้เคียง "วัดสุทัศน์น" กลับมีตกเพียงประปรายเท่านั้น นับเป็นปรากฎการณืที่ "ประหลาดอัศจรรย์" แก่ผู้ไปร่วมพิธีโดยทั่วหน้ากัน

 

         วัตถุมงคล ทั้งหมดได้ทำการตกแต่งเพื่อความสวยงาม "ร่วม 1 ปี" จึงแล้วเสร็จ จากนั้น พลโทสำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่ 3 จึงได้อัญเชิญไปประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ วิหารหลวงพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517 โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงประกอบพิธีจุดเทียนชัยมหาพุทธาภิเษก และมี "พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ" ร่วมพิธีพุทธาภิเษกจำนวน 45 รูป อาทิ

1.พระภาวนาโกศลเถระ วัดปากน้ำภาษีเจริญ

2.พระโพธิวรคุณ(ไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิต

3.พระราชมุนี(มหาบุญโฮม) วัดปทุมวนาราม

4.พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

5.พระครูพิพิธวิหารการ(หลวงพ่อเทียม) วักษัตราธิราช

6.พระครูรักขิตวันมุนี(หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์

7.พระครูญาณวิจักษ์(พระอาจารย์ผ่องจินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส

8.พระครูนนทกิจวิมล(หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ

9.พระครูกิตตินนทคุณ(หลวงพ่อกี๋) วัดหูช้าง

10.พระครูโกวิทสมุทรคุณ(หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี

11.พระครูสุตาธิการี(หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง ป็นต้น


 

ขอขอบคุณ ข้อมูลและรูปภาพจากหนังสือ "มหามงคลแห่งแผ่นดิน" เรียบเรียงโดย "คุณอดุลย์นันท์ทัต กิจไชยพร"   หนังสือดีที่น่าอ่านครับ


 

พระปรมาภิไธยอย่างย่อ

 

พระปรมาภิไธย หมายถึง พระนาม สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พระมหากษัตริย์ทรงมีพระ ปรมาภิไธยอย่างเต็ม ซึ่งสมณชีพราหมณาจารย์ เสนามาตย์ราชบัณฑิตช่วยกันผูกเป็นอักษรลักษณ์แสดงอรรถ และจารึกไว้ใน พระสุพรรณบัฏ สำหรับรับการทูลเกล้าฯ ถวายในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

 

ส่วนพระปรมาภิไธยอย่างย่อ คือคำนำพระนามอาจเปลี่ยนไป เป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ต่อด้วยพระนามเดิมแล้วตัดคำสร้อยพระนามออกไป และ อักษรพระปรมาภิไธยย่อ (๓ อักษร) อักษรแรก จะต่างกันตามพระนามของแต่ละรัชกาล ส่วน ๒ อักษรหลัง คือ "ปร" หมายถึง ปรมราชาธิราช หรือ บรมราชาธิราช คือ หมายถึง "มหาราชผู้ยิ่งใหญ่"

 

 

รัชกาลที่๑ มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ว่า "จปร" หมายถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถบรมราชาธิราช

 

 

รัชกาลที่๒ มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อว่า "อปร" หมายถึงพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอิศรสุนทรบรมราชาธิราช

 

 

รัชกาลที่๓ มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ว่า "จปร" หมายถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฎาบดินทรบรมราชาธิราช

 

 

รัชกาลที่๔ มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ว่า "มปร" หมายถึงพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎบรมราชาธิราช

 

 

รัชกาลที่๕ มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ว่า "จปร" หมายถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์บรมราชาธิราช

 

 

รัชกาลที่๖ มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อว่า "วปร" หมายถึงพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธบรมราชาธิราช

 

 

รัชกาลที่๗ มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ว่า "ปปร" หมายถึง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก บรมราชาธิราช

 

 

รัชกาลที่๘ มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ว่า "อปร" หมายถึงพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลบรมราชาธิราช

 

รัชกาลที่๙ พระ ปรมาภิไธยตามจารึกพระสุพรรณบัฏ ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ว่า "ภปร" หมายถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมราชาธิราช ที่มา...คมชัดลึก


ราคา : 999,999.00 บาท
จำนวน : Pcs.