|
| |
รหัสสินค้า | : k9-0099 |
ชื่อสินค้า | : เหรียญนิรันตราย(เจริญลาภ) ครบ108ปีวัดราชประดิษฐ์ ปี2515ทองคำ |
รายละเอียด | เหรียญนิรันตราย(เจริญลาภ) ครบ108ปีวัดราชประดิษฐ์ ปี2515ทองคำ เนื้อทองคำ หนัก 11.8 กรัม (รวมห่วง 600 มิลลิกรัม)
....ในหลวงเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธี....
วัตถุมงคลฉลอง 108 ปี วัดราชประดิษฐ์มหาสีมาราม พ.ศ. 2515 ....ในหลวงเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธี....
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหารปี 2515 ชื่อเดิมคือ วัดราชประดิษฐ์สถิตธรรมยุติการาม เรียกสั้นๆว่าวัดราชประดิษฐ์ฯ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 และเป็นพระอารามแห่งแรกของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติ ซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ภายในวัดมีศิลปะในยุครัตนโกสินทร์งดงามตระการตาให้ชมมากมาย มีจิตรกรรมฝาผนังภาพการชมสุริยุปราคาในสมัยรัชกาลที่4 และเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสิหิงค์ด้วย เมื่อสร้างวัดราชประดิษฐ์ ฯ เสร็จเมื่อปี พ.ศ.2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาพระสาสนโสภณ จากวัดบวรนิเวศฯ มาครองวัดราชประดิษฐ์ฯ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ซึ่งต่อมาภายหลังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เมื่อปีพ.ศ.2436 ถึงปีพ.ศ.2442 รวม 6 พรรษา ประวัติของสมเด็จพระสังฆราช(สา ปุสฺสเทโว) สังฆราชองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อย้อนไปเมื่อพระชนมายุได้ 18 ปี ทรงแปลพระปริยัติธรรม 9 ประโยค ได้เป็นเปรียญเอกตั้งแต่ยังทรงเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรองค์แรกที่ได้เป็นเปรียญ 9 ประโยคในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาได้ลาสิกขาไปเป็นฆราวาสอยู่พักหนึ่ง และเมื่อพระชนมายุได้ 38 ปี ได้กลับมาอุปสมบทใหม่ ว่ากันว่า ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งหนึ่ง และทรงแปลได้หมดทั้ง 9 ประโยค จึงมีผู้กล่าวถึงพระองค์ด้วยสมญานามว่า "สังฆราช 18 ประโยค"(โสฬส) ใน ปีพ.ศ.2515 เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ศิษย์ยานุศิษย์ในการฉลองวัดครบรอบ 108 ปี ทางวัดได้จัดสร้างวัตถุมงคล พระกริ่งโสฬส, เหรียญพระนิรันตราย แบบพัดยศ(เจริญญศ) และแบบเสมา(เจริญลาภ) ได้มีการจัดพุทธาภิเษก ในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน ในการหลอมยันต์ในครั้งนี้ใช้เวลาในการหลอมเป็นเวลานานมาก เพราะยันต์ของคณาจารย์บางท่านกว่าจะหลอมละลายได้ ต้องใช้เวลานานพอสมควร ตามธรรมดาแล้ว แผ่นทองเหลือง, แผ่นทองแดง เมื่อใส่ลงในเบ้าหลอมแล้วก็จะละลายโดยง่ายดาย แต่ยันต์ที่นำมาหลอมทำพระกริ่ง และเหรียญพระนิรันตรายนั้นหลอมละลายได้ยากมาก
ตั้งแต่วันที่ 16-24 พฤศจิกายน 2515 โดยได้นำชนวนมาจาก การเททองหล่อพระนิรันตรายรุ่นแรก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเททองในการครั้งนี้
มีจำนวนการจัดสร้างดังนี้ 1. พระบูชานิรันตราย 5 นิ้ว จำนวน 908 องค์ 2. พระกริ่งนิรันตรายเนื้อโลหะผสม พิมพ์ใหญ่ จำนวน 999 องค์ 3. พระกริ่งนิรันตรายเนื้อโลหะผสม พิมพ์เล็ก จำนวน 999 องค์ 4. พระกริ่งสมเด็จสังฆราช(สา) หรือ กริ่งโสฬส ม.ป.ร. จำนวน 50,000 องค์ 5. เหรียญนิรันตราย พิมพ์ทรงพัดยศ (เหรียญเจริญยศ) จำนวน 50,000 เหรียญ 6. เหรียญนิรันตราย พิมพ์เสมา (เหรียญเจริญลาภ) จำนวน 50,000 เหรียญ 7. พระชัยวัฒน์แบบปั๊ม ไม่ทราบจำนวน 8.เหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจำลอง รูปทรงประทับยืน 108 องค์ 9.ล๊อกเกตพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 10 หลังจากทางเสด็จพระราชดำเนินเททอง เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2515 ผ่านไป ทางคณะกรรมการได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก และ มังคลาภิเษก ภายในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ ระหว่างวันที่ 16-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 รวม 9 วัน 9 คืน อันเป็นระยะเวลาที่ตรงกับช่วงครบรอบสถาปนาพระอารามแห่งนี้ คณะกรรมการจึงได้นิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระราชอาณาจักรมาร่วมพิธี พุทธาภิเษกและมังคลาภิเษก คืนละ 12 รูป รวม 108 รูป เท่ากับอายุของวัดราชประดิษฐ์ในปี พ.ศ. 2515 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้เมตตามาเป็นประธานในการจุดเทียนชัย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่ายวัตถุมงคล ซึ่งพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณที่มาร่วมประกอบพิธี ประกอบด้วย
1. หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
2. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ 3. หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง 4. หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา 5. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา 6. หลวงพ่อโชติ วัดตะโน
7. หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี
8. หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย 9. หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง จ.เลย
10. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
11. หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี 12. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี 13. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จนนทบุรี
14. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี 15. หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง จ.นครปฐม 16. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสาคร 17. หลวงพ่อรวย วัดตะโก จ.อยุธยา 18. หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย จ.นนทบุรี 19. พระอาจารย์วัน อุตฺตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร
20. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง 21. หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี เป็นต้น (ปกติ แล้วหลวงปู่ทิมจะไม่ออกจากวัดละหารไร่ไปร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่อื่น ๆ โดยเด็ดขาด จึงนับว่าพิธีในครั้งนี้เป็นกรณีที่พิเศษจริง ๆ โดยมีภาพถ่ายยืนยัน) วัตถุ มงคลที่จัดสร้างในคราว ฉลอง 108 ปี วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เป็นอีกวัตถุมงคลที่ถึงพร้อมด้วย พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และพระมหากษัตริยาธิคุณ เพราะมีประสบการณ์เรื่อง แคล้วคลาด เป็นเยี่ยม เนื่องจากประกอบไปด้วยพระคุณของ พระรัตนตรัย และ พระมหากษัตริยาธิคุณ ของพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงคุณประเสริฐที่ยิ่งใหญ่แห่งแผ่นดินไทยถึง 2 พระองค์ ทั้งล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 และล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 เป็นวัตถุมงคลที่ควรอาราธนาติดตัว
ที่มา : หนังสือมหามงคลแห่งแผ่นดิน โดย คุณอลุย์นันท์ทัต กิจไชยพร เครดิตจากเวบ http://www.taradpra.com/itemDetail.aspx?itemNo=578244&storeNo=5830
วัตถุมงคลฉลอง 108 ปี วัดราชประดิษฐ์มหาสีมาราม พ.ศ. 2515 ....ในหลวงเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธี....
ในหลวงทรงเป็นประทานในพิธีเท่ทองเพื่อสร้างพระนิรันตรายของวัดราชประดิษฐ
ในหลวงทรงสุหร่าย น้ำพระพุทธมนตร์ในพิธีจัดสร้างพระกริ่งโสรสและเหรียญนิรันตราย
ตัวอย่าง พระลิขิตที่ท่านสังฆราชวาสนมหาเถร (สังฆราชองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ทรงกำกับดูแลการทำพิธีปลุกเสกตลอด ๙ วัน ๙ คืน ด้วยตนเอง พระสังฆราของค์ที่ 18(สังฆราชวาสน์) และเกจิรวมประกอบพิธี 9 วัน 9 คืน
หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ในการครั้งนี้ทางวัดได้จัดสร้าง พระกริ่งโสฬส, เหรียญพระนิรันตรายแบบพัดยศ, และแบบเสมา ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ศิษยานุศิษย์ในการฉลองวัดครบรอบ ๑๐๘ ปี และได้มีการจัดพิธีปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่ และมีคณาจารย์ชื่อดังทั่วทั้งประเทศและทั้ง ๔ ภาค มาร่วมนั่งปรกเป็นจำนวน ๑๐๘ รูป และได้จัดพิธีปลุกเสกเป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน (วันละ ๑๒ รูป)
ภาพหลวงปู่โต๊ะทรงเข้าร่วมปุกเสก
หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุทธยา วัตถุมงคล 108ปี วัดราชประดิษฐ์ฯ อีกหนึ่ง ยอดของดี ที่ถูกซ่อนเร้น วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราช วรวิหาร เป็นอีกหนึ่ง พระอารามหลวงชั้นเอก ที่มีความสำคัญและโดดเด่นถึง 2 ประการคือ ประการแรก เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นเป็นพระอารามหลวงของพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณีว่า บนผืนแผ่นดินไทยเมืองใดเป็นเมืองหลวงจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัดคือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และ วัดราชประดิษฐ์ โดยจะเห็นได้ว่าที่ กรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) และ สุโขทัย, สวรรคโลก, พิษณุโลก ก็มีวัดทั้ง 3 ชื่อนี้ ประการที่สอง เพื่ออุทิศถวายแด่คณะธรรมยุตนิกายโดยเฉพาะคือเมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช พระองค์ทรงเป็นหัวหน้านำพระสงฆ์ชำระข้อปฏิบัติก่อตั้ง คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตนิกาย วัดราชประดิษฐ์ฯ จึงนับเป็นพระอารามแห่งแรกของคณะธรรมยุต ซึ่งจากความสำคัญของวัดราชประดิษฐ์ฯ ทั้งสองประการนี้ พระมหากษัตริย์ ในรัชกาลต่อ ๆ มาก็ทรงรับวัดราชประดิษฐ์ฯ เข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ทุกพระองค์สืบมากระทั่งทุกวันนี้ วัดราชประดิษฐ์ฯ จึงเป็นวัดที่มีความสำคัญใน พระมหาจักรีบรมราชวงศ์ อีกวัดหนึ่ง พิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษก ภายใน พระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ ระหว่างวันที่ 16-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 รวม 9 วัน 9 คืน ซึ่งตรงกับช่วงวันสถาปนาวัดพอดีโดยนิมนต์พระคณา จารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในขณะนั้น ทั่วพระราชอาณาจักร เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก คืนละ 12 รูป รวมทั้งหมด 108 รูป เท่ากับอายุของวัดราชประดิษฐ์ฯ ทุกประการโดยพระคณาจารย์ที่ทรงวิทยาคุณได้แก่ หลวงปู่แหวนวัดดอยแม่ปั๋ง, หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, (ปกติแล้วหลวงปู่ทิมจะไม่ออกจากวัดละหารไร่ไปร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่อื่น ๆ โดยเด็ดขาด จึงนับว่าพิธีในครั้งนี้เป็นกรณีที่พิเศษจริง ๆ โดยมีภาพถ่ายยืนยัน) หลวงปู่คร่ำวัดวังหว้า, หลวงปู่ดู่วัดสะแก, หลวงปู่เทียมวัดกษัตราธิราช, หลวงพ่อโชติ (ระลึกชาติ), หลวงปู่ขาววัดถ้ำกองเพล, หลวงปู่เทศก์วัดหินหมากเป้ง, หลวงปู่จันทร์วัดเลยหลง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่, หลวงพ่อถิรวัดป่าเลไลยก์, หลวงพ่อกี๋วัดหูช้าง, หลวงพ่อแพวัดพิกุลทอง, หลวงพ่อหลิววัดไร่แตงทอง, หลวงตามหาบัววัดป่าบ้านตาด ฯลฯ เป็นต้น.
|