Web Counters
Dr Jays Catalog
Bookmark and Share Add to Favorites  

ค้นหาสินค้า

สมาชิกเข้าสู่ระบบ

User Name:
Password:
จำการล็อกอินของฉันไว้
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
ใสอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา


พระชัยวัฒน์เนาวะโลหะ ปี2554

พระชัยวัฒน์เนาวะโลหะ ปี2554
รหัสสินค้า : 65-10-24
ชื่อสินค้า : พระชัยวัฒน์เนาวะโลหะ ปี2554
รายละเอียด

 ระชัยวัฒน์เนาวะโลหะ ปี2554

ทองคำ99% 22กรัม


 

พระชัยวัฒน์เนาวะโลหะเนื้อทองคำ ปี 2554 ทองคำ99% น้ำหนัก 22.2 กรัม 

จำนวนสร้างประมาณ 279 องค์ 

จัดสร้างขึ้นเพื่อทูลเกล้าถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ครบ 7 รอบ  84 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2554 จำนวน 1 องค์ ขนาดหน้าตัก 4.09 นิ้ว(น้ำหนัก 135 บาท)  โดยผู้ร่วมบริจาคเงินจำนวน 60,000 บาท  จัดสร้างพระชัยวัฒน์เนาวะโลหะ(เนื้อทองคำ) ดังกล่าว จะได้รับพระชัยวัฒน์เนาวโลหะ(เนื้อ ทองคำ) ขนาดหน้าตักกว้าง ประมาณ 1.20 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.50 เซนติเมตร เป็นที่ระลึกจำนวน 1 องค์ (น้ำหนักประมาณ 22.8 กรัม 1.5 บาท)

รับพระจากพระหัตถ์ สมเด็จพระเทพฯ วันที่ 22 ธันวาคม 2554 ที่หอประชุมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อ.เศวต สงเคราะห์ ผู้ปั้นหุ่น

องค์พระบรรจุมวลสาร ดังนี้

1.ผงวัดสามปลื้ม จาก คุณชัยวัฒน์ เตชะไพบูลย์

2.ผงวัดปากน้ำ รุ่น 1

3.ผงวัดวิเวก เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ฯ

4.ผงวัดบางขุนพรหม จาก เฮียจั๊ว ตลาดพลู

5.เส้นเกศาหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ จากคุณวิชัย

6.ผงตรีนิสิงเห จากพระอาจารย์ดำ(กุ้ยไฮ้) เจ้าอาวาสวัดสิงโตทอง

7.เส้นเกศาสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร จากคุณ มิตรชัย อานันทนสกุล

8.เส้นเกศาหลวงปู่สุฯ

9.เส้นเกศาหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล

10.เส้นเกศาหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

11.ชานหมากหลวงปู่ตื้อ

12.เพชรหน้าทั่ง พระอาจารย์นำ ชินวโร เอื้อง ปู๋ยีนต์

ข้อมูลมวลสารจากคณะผู้จัดสร้างและดำเนินการ คุณมิตรชัย


พิธีประกอบพุทธรูปพุทธมณฑณอีสานขอนแก่น

จังหวัด ขอนแก่นได้ทำพิธีประกอบพระพุทธรูปพระประธานประจำพุทธมลฑลอีสาน และเร่งบูรณะสภาพพื้นที่เพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่จะมาปฏิบัติธรรม
นาย ธนวัฒน์ พลอยโสภณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เดินทางไปตรวจสภาพการประกอบองค์พระประธานพระพุทธรูปพระประธาน ประจำพุทธมณฑลอีสาน จัดสร้างขึ้นภายในที่ดินสาธารณประโยชน์หนองอีเลิง เขตรอยต่อระหว่างตำบลสำราญกับตำบลศิลา อ.เมืองขอนแก่นใกล้ถนนมิตรภาพ บนเนื้อที่รวมกว่า 645 ไร่ สำหรับพุทธมณฑลอีสาน จ.ขอนแก่น จะเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาในภาคอีสาน ตามมติมหาเถรสมาคมที่ผ่านความเห็นชอบให้มีการจัดสร้างพุทธมณฑลในระดับ ภูมิภาคแล้ว ยังจะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และศูนย์รวมจิตใจสำหรับพระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชนในภาคอีสาน รวมไปถึงการร่วมศึกษาพระธรรมวินัยพระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมนาสัมพุทธ เจ้าอีกด้วย ซึ่งตอนนี้ก็ได้เร่งก่อสร้างอาคาร ฐานให้มั่นคงรวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบเพื่อให้แล้วเสร็จในปีนี้สำหรับ งบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างพุทธมณฑลอีสาน จังหวัดขอนแก่น แห่งนี้ ใช้งบก่อสร้างทั้งหมดรวมกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณเบื้องต้น 108 ล้านบาท ขณะที่ชาวขอนแก่น รวมไปถึงพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศจะได้ร่วมกันสมทบทุนจนกว่าการก่อสร้างจะแล้ว เสร็จ นายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานร่วมกับ นายธนวัฒน์ พลอยโสภณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายพีระพล พัฒนพีระเดช นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น พ่อค้าประชาชนและชาวเมืองขอนแก่นจำนวนกว่า 500 คน ได้ร่วมพิธีทำบุญพระสงฆ์ในงาน

พิธี เททองและพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปพระประธานประจำพุทธมณฑลอีสาน จ.ขอนแก่น ณ มณฑลพิธีศาลหลักเมืองขอนแก่น ถ.ศรีจันทร์ ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น

เมื่อ วันที่ 31 มี.ค.2554 ณ มณฑลพิธีศาลหลักเมืองขอนแก่น ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปพระประธาน ประจำพุทธมณฑลอีสาน จ.ขอนแก่น โดย เริ่มจากพิธีบวงสรวง ประกอบพิธีเททองหล่อพระชัยเนาวโลหะทองคำ และพระเกตุมาลาพระพุทธรูปประธาน และการเททองหล่อกลีบบัวฐานพระพุทธรูป โดยพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 9 รูป พร้อมพระทรงวิทยาคุณ 99 รูป พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งประจำทิศบนธรรมาสน์ 4 ทิศ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกต่อเนื่องตั้งแต่เช้าวันที่ 31 มีนาคม 2554

เมื่อ วันที่ 1 เม.ย. 2554 โดยพิธีช่วงเช้าถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ที่ประกอบพิธีพุทธาภิเษก และเจริญพระพุทธมนต์อย่างต่อเนื่อง ประธานฝ่ายสงฆ์ประกอบพิธีดับเทียนชัย พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั้งหมดร่วมกันโปรยข้าวตอก ดอกไม้เจ็ดสี ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

นาย สมบัติ กล่าวว่า การก่อสร้างพุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 20 เมษายน 2547 และมติมหาเถรสมาคมวันที่ 9 กันยายน 2548 ที่เห็นชอบให้มีการจัดสร้างพุทธมณฑลจังหวัดขึ้นในส่วนภูมิภาค เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 โดยกำหนดจัดสร้าง ณ บริเวณที่ดินสาธารณประโยชน์หนองอีเลิง ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น ในเนื้อที่ 644 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวา ภายในจะประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา ในลักษณะเช่นเดียวกับพระพุทธรูปพระประธานประจำพุทธมณฑล จ.นครปฐม ความสูง 18 เมตร ใช้งบก่อสร้างทั้งหมดรวมกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณเบื้องต้น 108 ล้านบาท ขณะที่ชาวขอนแก่นรวมไปถึงพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศจะได้ร่วมกันสมทบทุนจนกว่า การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ ข่าว/พิมพ์ คันฉัตร เพียรวิจัยธรณี ส.ปชส.ขอนแก่น

เครดิตจากเวบ http://www.prd.go.th/ewt_news.php?nid=24688&filename=index5


พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล

พระชัยวัฒน์ เดิมมีพระนามว่า พระชัย หรือพระไชย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ออกพระนามเพิ่มว่าพระไชยวัฒน์ และได้เปลี่ยนพระนามมาเป็นพระชัยวัฒน์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระชัยเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีลักษณะพิเศษคือ พระหัตถ์ซ้ายจะทำพระหัตถ์อยู่ในลักษณะถือด้ามพัด และเป็นแบบนั่งขัดสมาธิเพชร จากหลักฐานที่พบน่าจะเกิดมีขึ้นตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา พระราชพิธีต่าง ๆ ที่อัญเชิญพระชัยวัฒน์ไปด้วยคือ

- พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะอัญเชิญพระชัยมาตั้งที่หน้าพระพุทธสิหิงค์ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็เช่นเดียวกัน

- พระราชพิธีโสกันต์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะอัญเชิญพระชัยมาตั้งที่ซ้ายและขวาของพระพุทธสิหิงค์

- พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จะอัญเชิญพระชัยมาประจำรัชกาลต่าง ๆ มาร่วมพิธี

- พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวมักอัญเชิญพระชัยมาด้วย

- พิธีพระประทีป มีเรืออนันตนาคราช แต่งเครื่องประทีปทรงพระชัย

- ในการเสด็จพระราชสงคราม จะอัญเชิญพระชัยไปในกองทัพด้วย ถ้าไปทางเรือก็จะอัญเชิญประดิษฐานในเรือเป็นพิเศษ ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งเสด็จไปตีเมืองเมาะตะมะ ได้เสด็จจากกรุงศรีอยุธยาทางเรือ ได้ตั้งพระชัยในเรือสุพรรณหงส์ ถ้าเสด็จไปทางสถลมารค ก็จะอัญเชิญพระชัยขึ้นประดิษฐานบนหลังช้าง จึงได้ชื่อว่า พระชัยหลังช้าง

- พระราชพิธีราชาภิเศก จะอัญเชิญพระชัยมาประดิษฐานในมณฑลพิธี ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของไทยซึ่งไม่มีชาติใดมี เป็นพระราชประเพณีของพระมหากษัตริย์ไทย ที่ได้ทรงปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน แสดงให้เห็นว่าได้ทรงเป็นพุทธมามกะและเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภกอย่างชัดแจ้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทก่อนพระราชทานพระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์ ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น ให้ผู้รับยึดมั่นอยู่ในเรื่อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันเป็นพระราโชบาย เพื่อความดำรงคงอยู่ของชาติไทย
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกพระองค์ ประดิษฐานอยู่ ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

 

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระชัยวัฒน์ พระชัยหลังช้าง

ในรัชสมัยของพระองค์ มีพระชัยอยู่สององค์ องค์หนึ่งมีขนาดเล็กเรียกว่า พระชัยหลังช้าง อีกองค์หนึ่งมีขนาดใหญ่ เรียกว่า พระชัยประจำรัชกาล หรือ พระชัยใหญ่ องค์พระทำด้วยเงิน ฐานเป็นทองทั้งสององค์ จากหลักฐานพบว่า ได้มีการหล่อพระชัยสององค์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อจะทำพระราชพิธีปราบดาภิเษก ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๑ เซนติเมตร สูงถึงยอดรัศมี ๓๒ เซนติเมตร สูงถึงยอดฉัตร ๘๘ เซนติเมตร เมื่อครั้งที่พม่ายกทัพเข้ามาจะตีพระนคร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จทางเรือพระที่นั่งบัลลังก์บุษบกพิศาล พระที่นั่งพิมานเมืองอินทร ทรงพระชัยนำเสด็จ

 

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระองค์ได้ทรงสร้างพระชัยประจำรัชกาลขึ้นอีกองค์หนึ่ง มีขนาดใกล้เคียงกันพระชัยในรัชกาลที่ ๑ ผิดกันที่องค์พระและฐานเป็นทองทั้งหมด
แต่ไม่ทันได้ใช้ คงใช้พระชัยในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพราะพระองค์มาสร้างพระชัยตอนปลายรัชกาล

 

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระชัยประจำรัชกาล มีขนาดเล็กลงมาก คือ หน้าตักกว้าง ๑๒
เซนติเมตร สูงถึงยอดรัศมี ๑๘ เซนติเมตร สูงถึงยอดฉัตร ๕๗ เซนติเมตร และทำผ้าพิเศษขึ้นเป็นทองลงยา เข้าใจว่าไม่ได้สร้างใหญ่ แต่เลือกพระชัยของเก่ามาซ่อมแซม เพราะพบว่ามีพระชัยขนาดเดียวกันนี้อยู่มาก ในหอพระสุราลัยพิมาน ทำด้วยเงินก็มี ทองก็มี และไม้ก็มี

 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระชัยวัฒน์ พระชัยเนาวโลหะ

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ ได้อัญเชิญพระชัยมาตั้งรวม ๖ องค์ ร่วมกับพระพุทธรูป พระนามอื่นอีก ๖ องค์ รวมเป็น ๑๒ องค์ พระชัยทั้ง ๖ องค์ได้แก่ พระปฏิมาไชย พระไชยทอง พระไชยเงิน พระไชยนวโลหะ พระไชยผ้าห่มลงยาราชาวดี และพระไชยพิธี

พระไชยในรัชกาลที่ ๔ มีขนาดเล็กกว่าในรัชกาลที่ ๓ เป็นทองทั้งองค์พระและฐาน หน้าตักกว้าง ๑๐ เซนติเมตร สูงถึงยอดรัสมี ๑๗ เซนติเมตร สูงถึงยอดฉัตร ๗๐ เซนติเมตร

นอกจากนั้นพระองค์ยังได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระชัยวัฒน์ทองเนาวโลหะองค์เล็ก เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๖ เพื่ออัญเชิญไปในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินประทับแรม นอกพระนคร และตั้งในการพระราชพิธีต่าง ๆ

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระชัยวัฒน์ พระชัยเนาวโลหะ

พระองค์ทรงสร้างพระชัยขึ้นอีกองค์หนึ่ง เอาแบบอย่างพระชัยในรัชกาลที่ ๔ มีขนาดเล็ก ใกล้เคียงกับ พระชัยในรัชกาลที่ ๑ และที่ ๒ คือ หน้าตัก ๘ นิ้ว สูงถึงยอด รัศมี ๒๘ เซนติเมตร สูงถึงยอดฉัตร ๘๔ เซนติเมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๒ โดยตั้งโรงพระราชพิธีที่หน้าพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) พระองค์ได้ทรงหล่อ พระชัยเนาวโลหะองค์หนึ่ง พร้อมด้วย พระชัยเนาวโลหะองค์เล็กอีก ๒๖ องค์ ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระองค์ ได้โปรดเกล้าฯ สร้างพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ (ร.ศ.๑๒๙) มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๙ เซนติเมตร สูงถึงยอดรัศมี ๓๐ เซนติเมตร สูงถึงยอดฉัตร ๘๗ เซนติเมตร พระราชพิธีหล่อพระชัยวัฒน์ครั้งนี้ มีทั้งพิธี ทางศาสนาพุทธ และพิธีทางศาสนาพราหมณ์ พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลองค์นี้ มียันต์เช่นเดียวกับ พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ ๔ และที่ ๕ ยันต์ดังกล่าว เป็นยันต์อริยสัจ

 

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระองค์ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีขนาดหน้าตัก ๑๗ เซนติเมตร (เท่ากำลังพระพุธ ซึ่งเป็นวันประสูติ) สูงถึงพระรัศมี ๒๗ เซนติเมตร สูงถึงยอดฉัตร ๘๒ เซนติเมตร จึงมีขนาดใกล้เคียงกับพระชัยวัฒน์ในรัชกาลที่ ๕ แต่องค์พระเป็นเงินแบบรัชกาลที่ ๑ พุทธลักษณะแบบผสม พระราชพิธีหล่อพระชัยวัฒน์ ครั้งนี้มีทั้งพิธีทางศาสนาพุทธ และพิธีทางศาสนาพราหมณ์ เสร็จแล้วได้อัญเชิญ พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล ที่ทรงหล่อใหม่ ไปประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

ในรัชสมัยของพระองค์ ไม่มีพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล อาจจะเป็นด้วยเวลาไม่ให้ เมื่อมีงานพระราชพิธีก็ใช้ พระชัยวัฒน์รัชกาลที่ ๕ แทน

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

เป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ภายใต้ฉัตร ๕ ชั้น หน้าตักกว้าง ๗ นิ้ว ความสูงยอดพระรัศมี ๙ นิ้ว ทรงพัดแฉก หล่อด้วยเงิน สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีพระราชพิธี โดยย่อดังนี้

วันอังคารที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และพระพุทธรูปฉลองพระองค์แล้ว ทรงจุดธูปเทียนมนัสการทรงศีล สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะรวม ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์ถวายน้ำเทพมนต์

วันพุธที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงประเคนผ้าไตรแด่พระสงฆ์ ทรงจุดเทียนทอง และถวายเทียนทองแด่สมเด็จพระสังฆราช ได้เวลาพระฤกษ์โหรลั่นฆ้องชัย สมเด็จพระสัฆราชจุดเทียนชัย ชาวประโคม ประโคมสังข์แตร บัณเฑาะว์และดุริยางค์ พระราชาคณะอีก ๒๙ รูปเจริญคาถาจุดเทียนชัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องบูชาธรรมที่เตียง พระสงฆ์สวดภาณวาร

วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ เสด็จพระราชดำเนิน เข้าสู่อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงศีล แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ ได้เวลาพระฤกษ์ ๗ นาฬิกา ๑๒ นาที ถึง ๗ นาฬิกา ๒๒ นาที โหรลั่นฆ้องชัย ทรงเททองและเงิน หล่อพระพุทธปฏิมาประจำรัชกาล พระสงห์ ๓๐ รูป ในพระอุโบสถ มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานเจริญชัยมงคลคาถา ชาวประโคม ประโคมสังข์ แตร บัณเฑาะว์และดุริยางค์ ทหารปืนใหญ่ (จากกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษา พระองค์ จำนวน ๑ กองร้อย โดยมี ร้อยโท ชูชาติ หิรัญรักษ์ เป็นผู้บังคับกองร้อย) ยิงปืนพระฤกษ์ มหาฤกษ์ มหาชัย มหาจักร มหาปราบยุค ๑๙ นัด พระครูวามเทพมุนี ถวายน้ำสังข์ที่พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ ทรงประเคนภัตตาหาร พระสงฆ์ ๓๐ รูป รับพระราชทานฉัน สมเด็จพระราชาคณะดับเทียนชัย พระสงฆ์ทั้งนั้นเจริญคาถาดับเทียนชัย

เจ้าพนักงานอัญเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ ที่หล่อใหม่ ไปประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งบายศรีแก้ว ทอง เงิน พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช เป็นเสร็จการพระราชพิธี

 

เครดิตจากเวบ http://www.mettadham.ca/chiwat%20buddha%20image_1.htm

ราคา : 120,000.00 บาท
จำนวน : Pcs.